วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ปัญหาทรัพยากรป่าไม้

ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาล เป็นหัวใจของสิ่งแวดล้อม ถือเป็นแหล่งรวบรวมพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญที่สุด สิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะมีค่าโดยเป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตยารักษาโรคและสารเคมีตามธรรมชาติ ช่วยรักษาความสมดุล ของสภาพแวดล้อมอื่นๆ เป็นแหล่งปัจจัยในการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์ ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่ทดแทนได้ มนุษย์สามารถ ใช้ประโยชน์ได้นานัปการ ชนิดของป่าไม้ในประเทศไทย ป่าในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ป่าไม่ผลัดใบ และป่าผลัดใบ ในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยป่าชนิดต่าง ๆ ดังนี้


ป่าไม่ผลัดใบ ( Evergreen Forest ) ประกอบด้วย - ป่าชายเลน ( Mangrove Forest )- ป่าพรุ ( Swam Forest or Marshland ) - ป่าชายหาด ( Beach Forest ) -ป่าดิบชื้น ( Moist Evergreen of tropical Rain Forest )- ป่าดิบแล้ง ( Dry Evergreen Forest )- ป่าดิบเขา ( Hill Evergreen Forest ) - ป่าสนเขา ( Tropical Pine Forest )

ป่าผลัดใบ ( Deciduous Forest ) ประกอบด้วย
- ป่าเบญจพรรณ ( Mixed Deciduous Forest )
- ป่าเต็งรัง ( Deciduous Dipterocarp Forest )
- ป่าทุ่ง ( Savanna )
- ป่าหญ้าเขตร้อน ( Tropical Grassland
สาเหตุของปัญหาทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย
สาเหตุการสูญเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมลง เป็นผลงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและราษฎร ดังนี้ (ราตรี ภารา, 2538)
1. การทำไม้ ความต้องการไม้เพื่อกิจการต่าง ๆ เช่น เพื่อทำอุตสาหกรรมโรงเลื่อย โรงงานกระดาษ สร้างที่อยู่อาศัยหรือการค้า ทำให้ต้นไม้ถูกลอบตัดและตัดถูกต้องตามกฎหมาย เป็นผลให้เกิดภัยพิบัติขึ้น
2. การเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ทำให้ความต้องการจากภาคเกษตรกรรมมากขึ้น ความจำเป็นที่ต้องการขยาย พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าไม้ในเขตภูเขาจึงเป็นเป้าหมายของการขยายพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก
3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่นมันสำปะหลัง ปอ ฯลฯ โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเกษตรกรรมเพาะปลูก
4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่า กระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ ป่าทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและ ไม่เจตนา
5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ อาทิ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะ ทำให้พื้นที่เก็บน้ำ หน้าเขื่อน ที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย
6. ไฟไหม้ป่า ประเทศไทยมักเกิดไฟไหม้ป่าในฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี เพราะในฤดูร้อนพวกวัชพืชในป่าหรือจากการผลัดใบของต้นไม้ ใบไม้จะแห้งแล้งและติดไฟง่าย
7. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อน จึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุม ถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดินเพื่อให้ได้มาซึ่ง แร่ธาตุเกิดผลทำลายป่าไม้บริเวณใกล้เคียงโดยไม่รู้ตัว
8. การทำลายของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง สัตว์ทำลายป่าไม้โดย
(1) กัดกิน ใบ กิ่ง รากเหง้าหรือหน่อของพืช(2) การเหยียบย่ำจะทำให้ต้นอ่อนของพืชถูกทำลาย ดินบริเวณโคนต้นไม้ถูกย่ำจนแน่น โครงสร้างของดินเสียไป ทำให้พืชเจริญเติบโตช้า ความเสียหายในประเทศไทยในข้อนี้มีไม่มากนัก จะมีอยู่บ้างเล็กน้อยในบริเวณจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการเลี้ยง สัตว์เป็นจำนวนมาก
9. การทำลายของเชื้อโรคและแมลง ต้นไม้ในป่าเป็นจำนวนมากที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคและแมลง จะเกิดการเหี่ยวเฉาแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต บางชนิดต้องสูญพันธุ์
10. ความตระหนักและความร่วมมือของของประชาชนต่อการอนุรักษ์ยังมีน้อย ส่วนใหญ่จะอ้างว่าเป็นภาระของทางราชการ การนิยมเครื่องเรือนที่ผลิตจากไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ทำให้ผู้ผลิตต้องเร่งแสวงหาไม้เพื่อตอบสนองความ ต้องการของประชาชน ผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น