วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ปัญหาทรัพยากรป่าไม้

ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาล เป็นหัวใจของสิ่งแวดล้อม ถือเป็นแหล่งรวบรวมพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สำคัญที่สุด สิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะมีค่าโดยเป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิตยารักษาโรคและสารเคมีตามธรรมชาติ ช่วยรักษาความสมดุล ของสภาพแวดล้อมอื่นๆ เป็นแหล่งปัจจัยในการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์ ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่ทดแทนได้ มนุษย์สามารถ ใช้ประโยชน์ได้นานัปการ ชนิดของป่าไม้ในประเทศไทย ป่าในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ป่าไม่ผลัดใบ และป่าผลัดใบ ในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยป่าชนิดต่าง ๆ ดังนี้


ป่าไม่ผลัดใบ ( Evergreen Forest ) ประกอบด้วย - ป่าชายเลน ( Mangrove Forest )- ป่าพรุ ( Swam Forest or Marshland ) - ป่าชายหาด ( Beach Forest ) -ป่าดิบชื้น ( Moist Evergreen of tropical Rain Forest )- ป่าดิบแล้ง ( Dry Evergreen Forest )- ป่าดิบเขา ( Hill Evergreen Forest ) - ป่าสนเขา ( Tropical Pine Forest )

ป่าผลัดใบ ( Deciduous Forest ) ประกอบด้วย
- ป่าเบญจพรรณ ( Mixed Deciduous Forest )
- ป่าเต็งรัง ( Deciduous Dipterocarp Forest )
- ป่าทุ่ง ( Savanna )
- ป่าหญ้าเขตร้อน ( Tropical Grassland
สาเหตุของปัญหาทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย
สาเหตุการสูญเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมลง เป็นผลงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและราษฎร ดังนี้ (ราตรี ภารา, 2538)
1. การทำไม้ ความต้องการไม้เพื่อกิจการต่าง ๆ เช่น เพื่อทำอุตสาหกรรมโรงเลื่อย โรงงานกระดาษ สร้างที่อยู่อาศัยหรือการค้า ทำให้ต้นไม้ถูกลอบตัดและตัดถูกต้องตามกฎหมาย เป็นผลให้เกิดภัยพิบัติขึ้น
2. การเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ทำให้ความต้องการจากภาคเกษตรกรรมมากขึ้น ความจำเป็นที่ต้องการขยาย พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าไม้ในเขตภูเขาจึงเป็นเป้าหมายของการขยายพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก
3. การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่นมันสำปะหลัง ปอ ฯลฯ โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเกษตรกรรมเพาะปลูก
4. การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่า กระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ ป่าทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและ ไม่เจตนา
5. การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ อาทิ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะ ทำให้พื้นที่เก็บน้ำ หน้าเขื่อน ที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย
6. ไฟไหม้ป่า ประเทศไทยมักเกิดไฟไหม้ป่าในฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี เพราะในฤดูร้อนพวกวัชพืชในป่าหรือจากการผลัดใบของต้นไม้ ใบไม้จะแห้งแล้งและติดไฟง่าย
7. การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อน จึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุม ถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดินเพื่อให้ได้มาซึ่ง แร่ธาตุเกิดผลทำลายป่าไม้บริเวณใกล้เคียงโดยไม่รู้ตัว
8. การทำลายของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง สัตว์ทำลายป่าไม้โดย
(1) กัดกิน ใบ กิ่ง รากเหง้าหรือหน่อของพืช(2) การเหยียบย่ำจะทำให้ต้นอ่อนของพืชถูกทำลาย ดินบริเวณโคนต้นไม้ถูกย่ำจนแน่น โครงสร้างของดินเสียไป ทำให้พืชเจริญเติบโตช้า ความเสียหายในประเทศไทยในข้อนี้มีไม่มากนัก จะมีอยู่บ้างเล็กน้อยในบริเวณจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการเลี้ยง สัตว์เป็นจำนวนมาก
9. การทำลายของเชื้อโรคและแมลง ต้นไม้ในป่าเป็นจำนวนมากที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคและแมลง จะเกิดการเหี่ยวเฉาแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต บางชนิดต้องสูญพันธุ์
10. ความตระหนักและความร่วมมือของของประชาชนต่อการอนุรักษ์ยังมีน้อย ส่วนใหญ่จะอ้างว่าเป็นภาระของทางราชการ การนิยมเครื่องเรือนที่ผลิตจากไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ทำให้ผู้ผลิตต้องเร่งแสวงหาไม้เพื่อตอบสนองความ ต้องการของประชาชน ผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การบริหาร






การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
การบริหารเป็นกระบวนการทางสังคมที่สามารถมองเห็นได้ 3 ทางคือ
1. ทางโครงสร้าง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ตามลำดับขั้นตอนของสายการบังคับบัญชา
2. ทางหน้าที่ เป็นขั้นตอนของหน่วยงานที่ระบุหน้าที่ บทบาท ความรับผิดชอบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อให้สำเร็จเป้าหมาย
3. ทางปฏิบัติ เป็นกระบวนการที่บุคคลและบุคคลต้องการร่วมทำปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน (Getzals & Guba)

ลักษณะเด่นที่เป็นสากลของการบริหาร คือ
- การบริหารต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
- ต้องอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญ
- ต้องใช้ทรัพยากรบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน
- ต้องมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการทางสังคม
- ต้องเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกลุ่มบุคคล 2 คนขึ้นไป
- ต้องอาศัยร่วมมือร่วมใจเพื่อให้ภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์
- เป็นการร่วมมือดำเนินการอย่างมีเหตุผล
- มีลักษณะเป็นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
- การบริหารไม่มีตัวตน แต่มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)
ปัจจัยการบริหารปัจจัยพื้นฐานทางการบริหารมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่
1. คน (Man)
2. เงิน (Money)
3. วัสดุสิ่งของ(Materials)
4. การจัดการ (Management)

ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหาร
ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซทของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ
ในการบริหารการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดกรอบ สำหรับผู้ปฏิบัติ และเป็นตัวกำหนดความรู้เพื่อช่วยให้การตัดสินใจกระทำไปอย่างมีเหตุผลและสามารถปฏิบัติได้จริงก็ตาม การปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของวิธีการได้ไตร่ตรองแล้วเท่านั้นจึงจะเป็นการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับทฤษฎีและวิจัยไม่ใช่เป็นการปฏิบัติที่เกิด จากการหยั่งรู้อคติ ความศรัทธาหรืออำนาจหน้าที่ นักทฤษฎีและนักวิจัย จะใช้วิธีการเชิงวิจัย จะใช้วิธีการเชิงวิทยาศาตร์ที่เข้มงวดกว่า นักปฏิบัติ เพื่อความมีหตุผล ส่วนนักปฏิบัติจะถูกบังคับโดยตำแหน่ง ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ถึงแม้จะไม่ใช่วิธีการเชิง วิทยาศาตร์ ครบทุกขั้นตอน แต่ก็ยังถูกบังคับให้ปรับรับวิธีการให้เหมาะสม โดยมีการยืดหยุ่นได้มากขึ้น ทฤษฎีจะเป็นตัวกำหนดทิศทางสำหรับการวิจัย และการชี้แนะที่มีเหตุผลต่อการปฏิบัติ ทฤษฎีจะถูกทดสอบขัดเกลาโดยการวิจัย เมื่อทฤษฎีหหผ่านการวิจัยแล้ว จึงนำมาประยุกตืใช้กับการปฏิบัติ ไม่มีการปฎิบัติใด ๆ ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี ในเมื่อทฤษฎี อยู่บนพื้นฐานของตรรกวิทยามีเหตุผลมแม่นยำถูกต้องแล้ว การปฏิบัติก็จะมีเหตุผลและถูกต้องเช่นเดียวกัน การปฏิบัติจึงสร้างมาให้เห็น ทฤษฎีเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องศึกษาทฤษฎี การศึกษาทฤษฎีก็เพราะจะให้การปฏิบัติได้ผลจริง
การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingencey Theory )
การบริหารใยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมอง การบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ การเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด There is one best way สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะใช้การบริการบริหารแบบใด การบริหารในยุคนี้มุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่าง องค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ และเป็นส่วนขยายของทฤษฎีระบบว่า ทุก ๆ ส่วนจะต้องสัมพันธ์กัน สถาการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึง หลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจบริหารโดยสถานการณ์
1. ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2. ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3. เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระะบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้อง สัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4. สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5. คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6. เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น - ความแตกต่างระหว่างบุคคล - ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น
- ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
- ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น นักบริหารที่เป็นผู้เสนอแนวความคิดทางการบริหารนี้ คือ Fred E.Fiedler (1967) ทฤษฎีระบบ
การเอาแนวความคิดเชิงระบบเข้ามาใช้ในการบริหา ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าในปัจจับันองค์กรการขยายตัวสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงเป็นการยากที่พิจารณาถึงพฤติกรรมขององค์กรได้หมดทุกแง่ทุกมุม นักทฤษฎีบริหารสมัยใหม่ จึงหันมาสนใจการศึกษาพฤติกรรมขององค์การ เพราะคนเป็นส่วนหนึ่งของระบบองค์การ องค์การเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม
ความหมาย
ระบบในเชิงบริหารหมายถึงองค์กรประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันและมีส่วนกระทบต่อปัจจัยระหว่างกันในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การองค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีระบบ ได้แก่
- ปัจจัยการนำเข้า Input
- กระบวนการ Process
- ผลผลิต Output
- ผลกระทบ Impact
วิธีการระบบเป็นวิธีการที่ใช้หลักตรรกศาสตร์วิทยาศาสตร์อย่างมีเหตุผล และมีความสัมพันธ์กันไปตามขั้นตอนช่วยให้กระบวนการทั้งหลายดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและสามารถช่วยให้การบริหารบรรลุวัตถประสงค์ไปด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถูกต้องและไม่ลำเอียง
ทฤษฎีบริหารของ McGreger ทฤษฎี X(The Traditioal View of Direction and Control)
ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานที่ว่า
- คนไม่อยากทำงาน และหสลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
- คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
- คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
- คนมักต่อต้านการเปลึ่ยนแปลง
- คนมักโง่ และหลอกง่าย
ทฤษฎีThe integration of Individual and Organization Goal)
ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานที่ว่า
- คนจะไม่ให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
- คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
- คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
- คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองมากขึ้น วิธีการบริหารตามแนวนึ้ จะเป็นการรวบรวมบุคคลและเป้าหมายโครงการเข้าไว้ด้วยกัน การจูงใจต้องใช้วิธีการจูงใจในระดับสูง
ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchl)
ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (Iof California t Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ ทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
- การทำให้ปรัชญาที่กหนดไว้บรรลุ
- การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
- การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทฤษฎีนี้ใช้หลักการ 3 ประการ คือ
1. คนในองค์กรต้องซื่อสัตย์ต่อกัน
2. คนในองค์การต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
3. คนในองค์การต้องมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย


กฎ10ข้อในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

1 อย่าเรียนเก่งไปเลย หากการง'เรียนเก่ง' นั้นทำให้คุณต้องคร่ำเคร่งอยู่แต่ตำราเรียน จนไม่ได้ทำกิจกรรมดีๆ อย่าง เข้าชมรม ออกเดินทาง ดูหนัง ทำงานศิลปะ อ่านวรรณกรรม ฯลฯ แต่ถ้าคุณทำควบคู่กันไปได้ดีทั้งสองอย่างก็นับว่ายอด เยี่ยม
2 ลงเรียนวิชาอังกฤษมากๆและเรียนอย่งตั้งใจว่าเอาให้เก่งให้ได้ โดยเพราะการพูดและอ่าน โลกยุคนี้และยุคหน้า ภาษาอังกฤษมีบทบาทมากขึ้นทุกขณะ ถ้าคุณเก่งภาษาอังกฤษ คุณได้เปรียบ
3 เข้าชมรมการแสดงของมหาลัย และหาโอกาสให้ได้ร่วมทำละครเวทีสักเรื่อง รับรองว่าคุณจะได้ประสบการณ์มากมาย ละครเวทีเป็นโลกจำลองของการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นที ่ครบเครื่องที่สุด
4 มีแฟนสักคนก็ดี ถ้าใครยังไม่มีก็ให้หาเสียตอนเรียนมหาลัยนี่แหละ โอกาสเหมาะสุดแล้ว เลือกแฟนที่ดี ที่ช่วยเสริมส่งกัน ทั้งในด้านการเรียนและความรัก
5 หากมีเพศสัมพันธ์กับแฟน คุณต้องรู้จักวิธีป้องกันด้วย
6 การลองยาเสพติดเป็นเรื่องที่โง่มาก เพื่อนที่ชวนคุณลองยาอย่าไปนับเขาเป็นเพื่อน ผมมีเพื่อนหลายคนที่ตอนเรียนมหาลัยใช้ยาเสพติดเพราะเ ป็นเรื่องเท่ ทุกวันนี้แต่ละคนที่ว่าไม่มีอนาคต บางคนเสียชีวิตไปแล้ว นี่เป็นเรื่องจริง
7 ปี 1- ปี 2 ใช้ชีวิตเรียนและเล่นให้สนุก พอขึ้นปี 3คุณควรรู้แน่แล้วว่า คุณต้องการและมีคุณสมบัติเหมาะที่จะทำอาชีพอะไร โดยให้เลือกเพื่อไว้สัก 2 อาชีพ แล้วใช้เวลาที่เหลืออยุ่ 2 ปี ทำพอร์ตโพริโอที่แสดงถึงทักษะความสามารถที่คุณมีต่อง านที่อยากทำ เพื่อได้นำไปสมัครงานเมื่อเรียนจบ ต่อไปการเขียนจดหมายสมัครงานอย่างเดียวไม่มีประโยช์น แล้ว คุณต้องมีผลงานแนบไปด้วย เขาจึงจะเชื่อว่าคุณทำงานได้จริง
8 หางานพิเศษทำยามว่าง ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งประสบการณ์ และความภาคภูมิใจ จดจำไว้ว่าประสบการณ์ไม่ได้มีขายที่ไหน อยากได้ต้องเอาตัวลงไปคลุก
9 ตั้งแต่แรกที่เข้าไปเป็นนักศึกษา ลองเก็บสะสมเงินทุกวัน วันละ 20 บาท เรียนมหาลัย 4 ปี วันสุดท้ายที่เดินออกจากมหาลัย คุณจะมีเงินเก็บทันที 29,200 บาท หรือถ้าเก็บวันละ 100 บาท ในเวลา 4 ปี คุณจะเป็นเจ้าของเงินที่มากอย่างไม่น่าเชื่อคือ 146,000 บาท เงินนี้จะเอาไปไช้อะไรก็ตามสบาย เพราะคุณเก็บสะสมมาได้ด้วยความพยายามของคุณเอง
10 ทำแต่ละวันให้ดีและมคุณค่าที่สุด-ทั้งต่อตัวคุณเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม
การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้ารารู้ว่าเป้าหมายสูงสุดคืออะไรและเราจาทำไปเพื่อใคร
มีหลายคนประสบความสำเหร็จและบางคนก้ล้มเหลวในหารเรียนในระดับมหาวิทยาลัย สาเหตุหรือเหตุผลของแต่ละคนอาจจะต่างกันแต่สิ่งที่ทุกคนหวังไว้เสมอคือ.....ปริญญา
นั้นแหละคือสาเหตุที่ให้เราทุกคนต้องเรียนในมหาวิทยาลัย
ในการใช้ชีวิตของแต่ละคนก็เช่นกัน
ยกตัวอย่างคนที่ประสบความสำเร็จ
เขาหรือเธอเหล่านั้นจะตั้งใจเรียนโดยจะเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และมักจะไม่ค่อยขาดเรียน ส่งงานประจำ ถึงแม้จะเทื่ยวเตร่บ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา ทำกิจกรรมบ้างเล็กน้อยพอใหรู้ประสบการณ์
ตัวอย่างของคนที่ไม่ประสบผลสำเร็จ
เขาหรือเธอเหล่านั้นมักจะ เป็นคนที่เพื่อนในชั้นเรียนไม่ค่อยจะเห็นหน้าเพราะไม่ค่อยเข้าเรียน ส่งงานก็ล่าช้า เที่ยวเตร่ประจำ หนังสือหนังหาก็ไม่อ่าน
ดังนั้น การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง ถึงแม้จะมีคนบอกทางที่ดีหรือการประสบความสำเร็จแก่เรามากแต่ไหน
เมื่อเรไม่ปฎิบัติก็ย่อมไล้ค่า
การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้ารารู้ว่าเป้าหมายสูงสุดคืออะไรและเราจาทำไปเพื่อใคร

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

UNSEEN น้ำตกภูซาง น้ำตกซับอุ่นแห่งเดียวในประเทศไทย

น้ำตกภูซางอยู่ที่กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูซาง เป็นน้ำตกชั้นเดียว น้ำตกภูซางมีน้ำตลอดปี อุณหภูมิของน้ำตก ประมาณ 35 องศาเซลเซียส ตั้งอยู่ริมถนนสาย 1093






นอกจากนี้ทางตอนเหนือของน้ำตกภูซางยังมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีจุดเด่นอยู่ที่บ่อซับน้ำอุ่นซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกภูซาง มีลักษณะเป็นธารน้ำอุ่นผุดจากใต้ดิน มีสภาพโดยรอบเป็นพรุน้ำจืด เต็มไปด้วยแมกไม้นานาพรรณที่หาดูได้ยาก ..

ตัวน้ำตกภูซางอยู่ห่างไปจากที่ทำการอุทยานฯ อีกเพียง 300 เมตร และเส้นทางสายนี้ ( ถนนหมายเลข 1093 ) ยังสามารถเดินทางต่อไปถึง ภูชี้ฟ้า ซึ่งเป็นยอดดอยสูงประมาณ 1,628 เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ เป็นระยะทาง 45 กิโลเมตร
ทางไปบ่อซับน้ำอุ่น







บ่อน้ำซับอุ่น
บ่อซับน้ำอุ่นจะเป็นตาน้ำที่มีน้ำไหลออกมาตลอดทั้งปีและมีทั้งหมด 3 บ่อ




เส้นทางการเดินทาง
ทางรถยนต์.....ห่างจากกรุงเทพฯ 735 กิโลเมตร สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 11 จากอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ผ่านตากฟ้า-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 103 ไปอำเภองาว แยกขวาเข้าทาง หลวงหมายเลข 1 เข้าสู่จังหวัดพะเยา
จากจังหวัดพะเยา - อำเภอจุน - อำเภอเชียงคำ - น้ำตกภูซาง 104 กิโลเมตร
จากจังหวัดเชียงราย - อำเภอเทิง - อำเภอเชียงคำ - น้ำตกภูซาง 124 กิโลเมตร

แผนที่ที่ตั้ง




น้ำตกภูซางตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติภูซาง
อุทยานแห่งชาติภูซาง มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ดินบริเวณป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลร่มเย็น ตำบลแม่ลาว ตำบลเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น พันธุ์ไม้ ของป่า สัตว์นานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ป่า และภูเขาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 285 ตารางกิโลเมตร หรือ 178,125 ไร่

ประวัติความเป็นมา :-เดิมจัดตั้งเป็นวนอุทยานแห่งชาติภูซาง อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งกรมป่าไม้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2533 เนื่องจากสำนักงานป่าไม้เขตเชียงราย สำรวจเสนอและกองบัญชาการหน่วยรบเฉพาะกิจ กองพลที่ 4 สนับสนุนให้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน ตามหนังสือที่ กส 0809 (ชร)/1975 ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2522 และ กห 0334 (ฉก.พล.)/1819 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 มีหนังสือที่ นร 5106/2616 ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ให้กรมป่าไม้ จัดตั้งพื้นที่วนอุทยานน้ำตกภูซาง มีเนื้อที่ประมาณ 73,000 ไร่
ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2534 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ทำการสำรวจและเตรียมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1316/2534 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 สั่งการให้ นายจุมพล วนธารกุล นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปดำเนินการสำรวจจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลร่มเย็น ตำบลเวียง ตำบลแม่ลาว ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 186,512 ไร่ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง 440 - 1,548 เมตร ติดเขตแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร สภาพป่าเป็น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา มีสัตว์ป่าหลายชนิด เจ้าหน้าที่ ททท. ได้แจ้งว่าตามมติที่ประชุมรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536 ให้ ททท. ประสานงานกับกรมป่าไม้ เพื่อพิจารณาพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติใหม่ กรมป่าไม้จึงมีหนังสือที่ กษ 0721.03/7244 ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2537 เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณพื้นที่ให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูซาง สำนักงานเลขาคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือที่ นร 0204/11694 ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2543 ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ และตำบลร่มเย็น ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 98 ก วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

สภาพภูมิประเทศ :- เป็นเทือกเขาติดชายแดนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสูงตั้งแต่ 440 - 1,548 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำลาว น้ำหงาย น้ำเปื๋อย น้ำมง น้ำญวน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอเชียงคำ

พรรณไม้ :-สภาพป่าโดยทั่วไปประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ ยาง ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปีป่า จำปาป่า กระบาก ตะแบก มะหาด ประดู่ แดง สัก เสลา ส้าน มะค่าโมง ตะคร้อ สมอพิเภก กระบก ก่อ มะม่วงป่า และไผ่
ตัวอย่างพรรณไม้



สัตว์ป่า :-สัตว์ป่าประกอบด้วย เลียงผา กวาง เก้ง ลิง หมูป่า กระจง ค่าง ชะนี กระต่าย แมวป่า เม่น อีเห็น ชะมด กระรอก หมาใน และ นกชนิดต่างๆ
สุดท้ายในการแนะนำที่ท่องเที่ยวผมอยากบอกว่า..........ท่องเที่ยวไทยไม่ไปไม่รู้